ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท

industry_logo-970x350

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท

Continue reading »

ไทย-เม็กซิโก หารือขยายลงทุนด้านอากาศยานและยานยนต์

pnoht591102001011601

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 นายไฆเม บีร์กิลิโอ นัวลาร์ต ซานเชซ (H.E. Mr. Jaime Virgilio Nualart Sánchez) เอกอัครราชทูตสหรัฐเม็กซิโกประจำประเทศไทย เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ภายหลังการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าเอกอัครราชทูตเม็กซิโกได้แสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกล่าวว่า ท่านทรงเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการพัฒนา ไม่เพียงแต่สำหรับประเทศไทย แต่รวมถึงโลกด้วย ซึ่งคนเม็กซิโกเองมีความชื่นชมต่อสิ่งที่ท่านได้สร้างไว้และการอุทิศตนต่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทั้งนี้ เม็กซิโกมีความสนใจในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งไทยยินดีแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับเม็กซิโก เพื่อสานต่อพระปณิธานและส่งเสริมความผาสุกของประชาชนทั้งสองประเทศต่อไป สำหรับด้านการค้าการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันยังสามารถขยายตัวได้อีก โดยเสนอให้ทั้งสองประเทศแสวงหาโอกาสทางการค้า โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทย-เม็กซิโกมีศักยภาพ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน อุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้เม็กซิโกใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียนในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการบริการ ซึ่งตรงกับความต้องการของเม็กซิโกที่ต้องการให้ไทยใช้เม็กซิโกเป็นประตูสู่ลาตินอเมริกา โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้สองประเทศร่วมมือกันในลักษณะประเทศไทยบวกหนึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเม็กซิโกบวกหนึ่งประเทศภูมิภาคลาตินอเมริกาในสาขาที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อขยายตลาดระหว่างกันให้กว้างขึ้น สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สองฝ่ายยินดีที่มีการนำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานจากไทยเยือนเม็กซิโก

Continue reading »

สถาบันไทย-เยอรมันเร่งส่งเสริมการลงทุน-ปั้นบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม รับ New S-Curve

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d

สถาบันไทย-เยอรมัน ขานรับนโยบายรัฐเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ร่วมผลักดันส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกางแผนพัฒนาเทคโนโลยีและหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อเติมองค์ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 หวังปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีด ความสามารถผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์แก่อุตสาหกรรม New S-Curve ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า ด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย กับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้สถาบันไทย-เยอร มัน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์  เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีแม่พิมพ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและช่วยทรานฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยเฉพาะกลุ่มหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Robotic) และระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วนทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอากาศยาน เป็นต้น นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ  ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวว่า

Continue reading »