ในอดีตเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเป็นสิ่งครอบครองโดยเหล่าเศรษฐีหมื่นล้านและบรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ให้ท่านผู้อ่านจินตนาการห้องเก็บสัมภาระที่อัดแน่นด้วยกระเป่าหลุยส์วิตตองขณะที่ห้องโดยสารก็เต็มไปด้วยนักธุรกิจกำลังกำหนดวาระการประชุมและทบทวนแผนการนัดหมายต่างๆ อย่างไรก็ดีความเปลี่ยนแปลงปรากฎให้เห็นได้ชัดในไม่กี่ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเปิดตัวขึ้นโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวพลักดัน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อบุ๊คที่นั่งเฮลิคอปเตอร์ได้ภายใน 20 นาทีและในราคาเพียงเสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับการเช่าเหมาลำ โดยใช้บริการจากอูเบอร์เพียงแต่กำหนดที่รับและส่งที่เฮลิคอปเตอร์สามารถลงจอดได้ ธุรกิจออนดีมานด์ที่อาศัยหลักเศรษฐกิจแบ่งปันมีบทบาทมากในการแบ่งเบาสถานะการณ์ความคับคั่งในการเดิน Victor นับว่าเป็นบริษัทแรกที่รวบรวมข้อมูลเครื่องบินเจ็ทและสนามบินกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก จากนั้นเปรียบเทียบเพื่อสร้างและนำเสนอราคาแก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว และ Victor เติบโตถึง 139 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเมื่อปีที่แล้ว เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความยืดหยุ่น ประสิทธิพลการบริหารต้นทุน ประสิทธิภาพทางเวลาในการเดินทาง ได้กลายเป็นวลีที่แห่งศตวรรษที่ 21 ยิ่งไปกว่านั้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมี app จำนวนหนึ่งนำเสนอบริการคล้ายกับ Victor ตัวอย่างเช่น JetSuite หรือไม่ว่าจะเป็น Surf Air หรือ SkyJet และมีบางเจ้าถึงขนาดนำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบสมาชิกตอบกลับ สาเหตุที่ความต้องการบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแถวรอคอยเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยที่มีความล่าช้า ความเหลื่อมล้ำด้อยประสิทธิภาพในแง่ของการบริหารจัดการของสนามบิน และความล่าช้าของตารางการบินที่เกิดขึ้นได้เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นฝันร้ายของผู้โดยสาร การจัดซื้อเครื่องบินเจ็ทเพื่อภาพลักษณ์และความภูมิฐานเป็นการแสดงสถานภาพทางสังคมของบรรดาอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งมี บริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแม้ว่าจะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จากข้อมูลของ Corporate Jet Investor และ Forbes เมื่อพูดถึงสัดส่วนของบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแล้ว พบว่า 63
Continue reading »Tag Archives: "Aerospace"
ไทย-เม็กซิโก หารือขยายลงทุนด้านอากาศยานและยานยนต์
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 นายไฆเม บีร์กิลิโอ นัวลาร์ต ซานเชซ (H.E. Mr. Jaime Virgilio Nualart Sánchez) เอกอัครราชทูตสหรัฐเม็กซิโกประจำประเทศไทย เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ภายหลังการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าเอกอัครราชทูตเม็กซิโกได้แสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกล่าวว่า ท่านทรงเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการพัฒนา ไม่เพียงแต่สำหรับประเทศไทย แต่รวมถึงโลกด้วย ซึ่งคนเม็กซิโกเองมีความชื่นชมต่อสิ่งที่ท่านได้สร้างไว้และการอุทิศตนต่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทั้งนี้ เม็กซิโกมีความสนใจในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งไทยยินดีแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับเม็กซิโก เพื่อสานต่อพระปณิธานและส่งเสริมความผาสุกของประชาชนทั้งสองประเทศต่อไป สำหรับด้านการค้าการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันยังสามารถขยายตัวได้อีก โดยเสนอให้ทั้งสองประเทศแสวงหาโอกาสทางการค้า โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทย-เม็กซิโกมีศักยภาพ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน อุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้เม็กซิโกใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียนในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการบริการ ซึ่งตรงกับความต้องการของเม็กซิโกที่ต้องการให้ไทยใช้เม็กซิโกเป็นประตูสู่ลาตินอเมริกา โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้สองประเทศร่วมมือกันในลักษณะประเทศไทยบวกหนึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเม็กซิโกบวกหนึ่งประเทศภูมิภาคลาตินอเมริกาในสาขาที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อขยายตลาดระหว่างกันให้กว้างขึ้น สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สองฝ่ายยินดีที่มีการนำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานจากไทยเยือนเม็กซิโก
Continue reading »BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”
วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้
Continue reading »