บีโอไอชวนนักลงทุนญี่ปุ่น 200 รายหวังดึงลงทุน “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2-%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%a2-300x222

บีโอไอร่วมกับธนาคารโชโคชูคินซึ่งเป็นธนาคารส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของญี่ปุ่น สัมมนาชักจูงการลงทุนกลุ่มบริษัทชั้นนำ 200 รายของญี่ปุ่น หวังจูงใจให้ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พร้อมนัดหารือรายบริษัทที่วางแผนขยายการลงทุนในไทย นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2559 บีโอไอจะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา “Thailand Investment Seminar” ณ กรุงโตเกียว ซึ่งจัดโดยธนาคารโชโคชูคิน (ShokoChukin) ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารโชโคชูคินและครบรอบการก่อตั้งบีโอไอ 50 ปี โดยมีนักธุรกิจที่เป็นลูกค้าของธนาคาร 200 รายเข้าร่วมงาน “บีโอไอได้ลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนกับธนาคารโชโคชูคินมาเป็นเวลา 21 ปีแล้ว และช่วงที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วประมาณ 900 ราย บีโอไอและธนาคารโชโคชูคินจึงจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อเชิญชวนลูกค้าชั้นนำของธนาคาร โชโคชูคินให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย และการลงทุนในพื้นที่อีอีซี” นางหิรัญญากล่าว ทั้งนี้ บริษัทที่เข้าร่วมงานสัมมนา 200 ราย เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร แปรรูปอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ บีโอไอจะพบปะหารือรายบริษัทกับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแผนจะขยายการลงทุนในประเทศไทย

Continue reading »

BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”

thailand-aviation

วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้

Continue reading »