ในอดีตเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเป็นสิ่งครอบครองโดยเหล่าเศรษฐีหมื่นล้านและบรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ให้ท่านผู้อ่านจินตนาการห้องเก็บสัมภาระที่อัดแน่นด้วยกระเป่าหลุยส์วิตตองขณะที่ห้องโดยสารก็เต็มไปด้วยนักธุรกิจกำลังกำหนดวาระการประชุมและทบทวนแผนการนัดหมายต่างๆ อย่างไรก็ดีความเปลี่ยนแปลงปรากฎให้เห็นได้ชัดในไม่กี่ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเปิดตัวขึ้นโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวพลักดัน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อบุ๊คที่นั่งเฮลิคอปเตอร์ได้ภายใน 20 นาทีและในราคาเพียงเสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับการเช่าเหมาลำ โดยใช้บริการจากอูเบอร์เพียงแต่กำหนดที่รับและส่งที่เฮลิคอปเตอร์สามารถลงจอดได้ ธุรกิจออนดีมานด์ที่อาศัยหลักเศรษฐกิจแบ่งปันมีบทบาทมากในการแบ่งเบาสถานะการณ์ความคับคั่งในการเดิน Victor นับว่าเป็นบริษัทแรกที่รวบรวมข้อมูลเครื่องบินเจ็ทและสนามบินกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก จากนั้นเปรียบเทียบเพื่อสร้างและนำเสนอราคาแก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว และ Victor เติบโตถึง 139 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเมื่อปีที่แล้ว เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความยืดหยุ่น ประสิทธิพลการบริหารต้นทุน ประสิทธิภาพทางเวลาในการเดินทาง ได้กลายเป็นวลีที่แห่งศตวรรษที่ 21 ยิ่งไปกว่านั้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมี app จำนวนหนึ่งนำเสนอบริการคล้ายกับ Victor ตัวอย่างเช่น JetSuite หรือไม่ว่าจะเป็น Surf Air หรือ SkyJet และมีบางเจ้าถึงขนาดนำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบสมาชิกตอบกลับ สาเหตุที่ความต้องการบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแถวรอคอยเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยที่มีความล่าช้า ความเหลื่อมล้ำด้อยประสิทธิภาพในแง่ของการบริหารจัดการของสนามบิน และความล่าช้าของตารางการบินที่เกิดขึ้นได้เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นฝันร้ายของผู้โดยสาร การจัดซื้อเครื่องบินเจ็ทเพื่อภาพลักษณ์และความภูมิฐานเป็นการแสดงสถานภาพทางสังคมของบรรดาอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งมี บริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแม้ว่าจะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จากข้อมูลของ Corporate Jet Investor และ Forbes เมื่อพูดถึงสัดส่วนของบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแล้ว พบว่า 63
Continue reading »Tag Archives: "trends"
Medical Tourism – Manufacturing Trends
According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Continue reading »