เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) และ บริษัท ไทยโทดะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้จัดพิธีลงนามเซ็นสัญญาการก่อสร้างโครงการหลักยูเซ็น โลจิสติกส์ ประเทศไทย สาขาบางนา หรือ YLTH Bang Na Core Project ซึ่งถือเป็นทำเลกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 500 ล้านบาท โดยจะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่กันยายน 2560 แบ่งเป็น 2 เฟส คลังสินค้าเฟสที่ 1 พื้นที่ 14,000 ตารางเมตร เป็นคลังสินค้าอุณหภูมิปกติและคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมปฏิบัติการในเดือนมิถุนายน 2561 ส่วนคลังสินค้าเฟสที่ 2 พื้นที่ 9,700 ตารางเมตร เป็นคลังสินค้าอุณหภูมิปกติ คาดว่าจะแล้วเสร็จกุมภาพันธ์ 2562 On Thursday 31st August, the official contract signing
Continue reading »Tag Archives: "thailand"
Fly with Style and Privacy: The Rise of Luxurious Private Jets
ในอดีตเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเป็นสิ่งครอบครองโดยเหล่าเศรษฐีหมื่นล้านและบรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ให้ท่านผู้อ่านจินตนาการห้องเก็บสัมภาระที่อัดแน่นด้วยกระเป่าหลุยส์วิตตองขณะที่ห้องโดยสารก็เต็มไปด้วยนักธุรกิจกำลังกำหนดวาระการประชุมและทบทวนแผนการนัดหมายต่างๆ อย่างไรก็ดีความเปลี่ยนแปลงปรากฎให้เห็นได้ชัดในไม่กี่ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเปิดตัวขึ้นโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวพลักดัน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อบุ๊คที่นั่งเฮลิคอปเตอร์ได้ภายใน 20 นาทีและในราคาเพียงเสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับการเช่าเหมาลำ โดยใช้บริการจากอูเบอร์เพียงแต่กำหนดที่รับและส่งที่เฮลิคอปเตอร์สามารถลงจอดได้ ธุรกิจออนดีมานด์ที่อาศัยหลักเศรษฐกิจแบ่งปันมีบทบาทมากในการแบ่งเบาสถานะการณ์ความคับคั่งในการเดิน Victor นับว่าเป็นบริษัทแรกที่รวบรวมข้อมูลเครื่องบินเจ็ทและสนามบินกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก จากนั้นเปรียบเทียบเพื่อสร้างและนำเสนอราคาแก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว และ Victor เติบโตถึง 139 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเมื่อปีที่แล้ว เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความยืดหยุ่น ประสิทธิพลการบริหารต้นทุน ประสิทธิภาพทางเวลาในการเดินทาง ได้กลายเป็นวลีที่แห่งศตวรรษที่ 21 ยิ่งไปกว่านั้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมี app จำนวนหนึ่งนำเสนอบริการคล้ายกับ Victor ตัวอย่างเช่น JetSuite หรือไม่ว่าจะเป็น Surf Air หรือ SkyJet และมีบางเจ้าถึงขนาดนำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบสมาชิกตอบกลับ สาเหตุที่ความต้องการบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแถวรอคอยเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยที่มีความล่าช้า ความเหลื่อมล้ำด้อยประสิทธิภาพในแง่ของการบริหารจัดการของสนามบิน และความล่าช้าของตารางการบินที่เกิดขึ้นได้เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นฝันร้ายของผู้โดยสาร การจัดซื้อเครื่องบินเจ็ทเพื่อภาพลักษณ์และความภูมิฐานเป็นการแสดงสถานภาพทางสังคมของบรรดาอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งมี บริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแม้ว่าจะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จากข้อมูลของ Corporate Jet Investor และ Forbes เมื่อพูดถึงสัดส่วนของบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแล้ว พบว่า 63
Continue reading »สถาบันยานยนต์ จับมือ เดลต้า พัฒนา SME ผนึกกำลังขานรับ 4.0 สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไทย
สถาบันยานยนต์ จับมือ เดลต้า พัฒนา SME ผนึกกำลังขานรับ 4.0 สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไทย คลื่นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังเคลื่อนเข้ามาจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยียานยนต์จากเครื่องยนต์ที่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานไฟฟ้า ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์สมัยใหม่ ผู้ประกอบการต้องมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและบุคลากรที่มีทักษะการผลิตสูงขึ้น สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จัดงาน “อนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” สำหรับเอสเอ็มอีผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 70 ราย ในโครงการ “ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย พร้อมสานพลังประชารัฐเตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี EV และเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า ช่วงกลางปี 2560 ปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สร้างรายได้แก่ประเทศไทยปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 5 ของมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะนี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งเป็นการเข้ามาลงทุนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก แนวโน้มกระแสตลาดโลกและรัฐบาลไทยปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อตลาดชิ้นส่วนฯแตกต่างกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน 1 คัน มีชิ้นส่วนเครื่องยนต์มากกว่าชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า
Continue reading »ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท
Continue reading »BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”
วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้
Continue reading »สถาบันไทย-เยอรมันเร่งส่งเสริมการลงทุน-ปั้นบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม รับ New S-Curve
สถาบันไทย-เยอรมัน ขานรับนโยบายรัฐเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ร่วมผลักดันส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกางแผนพัฒนาเทคโนโลยีและหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อเติมองค์ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 หวังปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีด ความสามารถผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์แก่อุตสาหกรรม New S-Curve ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า ด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย กับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้สถาบันไทย-เยอร มัน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีแม่พิมพ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและช่วยทรานฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยเฉพาะกลุ่มหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Robotic) และระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วนทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอากาศยาน เป็นต้น นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวว่า
Continue reading »New Head of Ericsson Thailand
นาดีน อัลเลน, ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด นาดีน อัลเลน มีประสบการณ์ในบทบาทที่หลากหลายในอุตสาหกรรมไอซีที หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก มากว่า 20 ปี รวมถึงได้รับตำแหน่งผู้บริหารที่อีริคสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เธอเข้ารับตำแหน่งประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของบริหารธุรกิจโดยรวมของอีริคสัน ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เธอเป็นรองประธานฝ่ายลูกค้าอุตสาหกรรมและสังคม อีริคสัน ยุโรปกลางและตะว้นตก รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินธุรกิจของอีริคสันอุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน และระบบการขนส่งอัจฉริยะ ความปลอดภัยสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางเรือ ใน 16 ประเทศของยุโรปตอนกลางและตะวันตก นอกจากนี้เธอยังมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาการบริหารการให้บริการและกลุ่มธุรกิจภายนอกของอีริคสัน เป็นเวลา 2 ปี ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับอีริคสัน นาดีนเคยเป็นรองประธานและผู้จัดการลูกค้าของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ EE (บริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร) และ MBNL (บริษัทร่วมกันระหว่าง EE และ3UK) มากว่า 6
Continue reading »Medical Tourism – Manufacturing Trends
According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Continue reading »Launch of Newly Expanded Sumitomo Technical Center
บริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก ฮาร์ดเมทัล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดตั้งศูนย์บริการเทคนิค (Technical Center) ขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ให้บริการอบรมด้านเทคนิคแก่ลูกค้าโดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรสำคัญๆ เกี่ยวกับงานตัดแต่งขึ้นรูปโลหะหลายหัวข้อ จวบจนปัจจุบันได้ให้การฝึกอบรมแก่ลูกค้าและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 4,500 คน นับเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมไทย จากการดำเนินงานติดต่อกันมานับ 10 ปี พบว่าปัจจุบันความต้องการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต SHT จึงได้ปรับศูนย์บริการเทคนิคครั้งใหญ่ ครอบคลุมงานที่สำคัญ เช่น การกลึง การเจาะ และการกัด รวมถึงการให้บริการด้านการทดสอบการตัดชิ้นงานให้แก่ลูกค้า (Test Cut) ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ได้มีปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้รูปแบบหลักสูตรจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์มายาวนาน บัดนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นพร้อมที่จะเปิดบริการได้แล้วภายใต้ชื่อใหม่ว่า Thailand Tools Engineering Center หรือ Ti-TEC Sumitomo Electric Hardmetal Manufacturing (Thailand) Ltd. (SHT) set
Continue reading »Haitian shows its highest efficiency in plastic manufacturing in InterPlas Thailand 2016
ไห่เถียนชูศักยภาพการผลิตพลาสติกที่ดีที่สุดภายในงาน อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2016 บริษัท ไห่เทียน แมชชีนเนอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำทางด้านการผลิตเครื่องฉีดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมกับบริษัท เอสพี อินเตอร์แมค จำกัด ร่วมแสดงศักยภาพนวัตกรรมการผลิตพลาสติกที่สามารถตอบโจทย์การผลิตให้กับผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ กลางและธุรกิจขนาดย่อมภายในงาน อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2016 ที่จัดเมื่อวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2559 ทั้งนี้ คุณชัชชวี วัฒนสุข ประธานกรรมการ บริษัท เอสพี อินเตอร์แมค จำกัด ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันเราพบว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น มีความพร้อมและความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน โดยเฉพาะในรุ่น Mar Series ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ผลิตในประเทศไทยโดยเฉพาะ คุณภาพสูงและคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างมาก” ภายในงานได้รับการสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วมงาน วิศวกร และผู้ประกอบการในการร่วมเข้าชมงานในปีนี้ Haitian Machinery (Thailand) Co., Ltd., the world’s leading manufacturer of plastic injection, joined
Continue reading »