ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท

industry_logo-970x350

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท

Continue reading »

BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”

thailand-aviation

วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้

Continue reading »