MEGA Tech Magazine

BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”

thailand-aviation

วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเปิดให้การส่งเสริมกิจการผลิตอาหารสัตว์และส่วนผสมอาหารสัตว์ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการวิจัยและพัฒนา นอกจากฐานการผลิตเพียงอย่างเดียว โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) หากมีเฉพาะขั้นตอนการผลิต จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีตามประเภท B1 และกรณีที่ 2) หากมีการลงทุนด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based incentives) เมื่อมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของภาคการเกษตร มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารแปรรูป นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดแต่ละประเภท เช่น สัตว์เศรษฐกิจที่เน้นการเจริญเติบโตและลดต้นทุน หรือสัตว์เลี้ยงที่เน้นมีสุขภาพดี อายุยืนยาว ลดความเสี่ยงจากโรคหรือเชื้อปนเปื้อน ดังนั้น การยกระดับมาตรฐานการผลิตและคุณภาพอาหารสัตว์จึงมีความสำคัญและควรได้รับการส่งเสริม เพราะไทยเป็นฐานการผลิตอาหารสัตว์ชั้นนำของโลกและเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับเจ็ดของโลก

“บีโอไอได้ยกเลิกการส่งเสริมลงทุนในประเภทกิจการผลิตอาหารสัตว์ไปเมื่อสิ้นปี 2557 เพื่อให้มีการกำหนดประเภทกิจการที่เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการดังกล่าวเป็นรูปแบบชั่วคราวเฉพาะกิจการที่ตั้งในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและชายแดนภาคใต้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันต้องยอมรับว่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ต่อปี การส่งออกก็มีแนวโน้มขยายตัว ขณะที่ผู้ประกอบการต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากทิศทางดังกล่าวบีโอไอจึงได้เปิดให้การส่งเสริมกิจการอาหารสัตว์ ส่วนผสมอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์เลี้ยงขึ้นอีกครั้ง โดยมั่นใจว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นแหล่งรองรับการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์ ส่วนผสมอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์เลี้ยงได้ในอนาคต เพราะไทยมีความพร้อมในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดภัยตรวจสอบได้ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีวัตถุดิบจำนวนมาก” เลขาธิการบีโอไอกล่าว

นอกจากนี้ ประชุมได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 13 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 63,440 ล้านบาท มีมูลค่าที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบในประเทศรวมกว่า 15,220 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค

อีกทั้ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กล่าวถึงภาวการณ์ส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 ว่า มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน 9 เดือนแรกปี 2559 จำนวน 1,095โครงการ มูลค่า 369,070 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการลงทุนจริง จำนวน 342,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนโดยเฉพาะนักลงทุนจากต่างประเทศยังมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 1๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอากาศยาน อุตสาหกรรมการแพทย์ ฯลฯ

2063701_620x413

The Board of Investment (BOI) has expanded its promotional areas for aviation clusters in an effort to make it more attractive to investors.

According to secretary-general Hiranya Sujinai, during a BOI meeting chaired by Prime Minister Gen Prayut Chan-o-cha yesterday, the BOI agreed to scrap requirements that industry supporting the aviation cluster must be located only in 14 provinces with airports, or otherwise built close to airports, to receive privileges.

Aviation is one of the 10 targeted industry clusters the government is ambitious to promote.

Others are next-generation cars; smart electronics; affluent, medical and wellness tourism; agriculture and biotechnology; food; robotics for industry; logistics and aviation; biofuels and biochemicals; digital; and medical services.

As of the first nine months of this year, there were only 2-3 applications for investment in aviation projects. All the applications were submitted by Thai investors.

Mrs Hiranya said the low number of applications was in part due to unattractive investment privileges.

The BOI scraped the requirements as it realized that small parts aviation makers may not need to locate their factories near airports or in the 14 provinces as stipulated, she said.

Mrs Hiranya said the Transport Ministry is now studying the possibility of easing its requirement that Thai investors hold a 51% stake in aviation investment projects.

Meanwhile, the BOI also yesterday reinstated privileges for feed mill production, which had been abolished in 2014. The move is part of the government’s plans to promote Thailand as a center for R&D in the feed mill industry.

Mrs Hiranya said the board sees feed mills as an upstream industry for Thailand’s agricultural sector, as they are vital to the livestock industry and the food processing industry.

Privileges to the feed mill industry will be divided into two parts. Purely production-based projects will only be eligible for exemption of import duties on machinery and raw or essential materials used in manufacturing export products for one year. The period can be extended if deemed appropriate by the Board.

Projects investing in research and development and innovation will be eligible for corporate income tax exemption and other promotional measures granted by the Finance Ministry.

The BOI also reported yesterday it had received applications for 1,095 projects in the first nine months with investment costs of 369 billion baht, up 150% year-on-year.

About 40% of the applications were from 10 target industries. Some of the them are already under way, including a bioplastic project worth 4 billion baht initiated by the Amsterdam-based company Corbion.

 

Source : www.econnews.co.th, www.bangkokpost.com

Share this post
  , , , , , ,