Fly with Style and Privacy: The Rise of Luxurious Private Jets

plane-wallpaper

ในอดีตเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเป็นสิ่งครอบครองโดยเหล่าเศรษฐีหมื่นล้านและบรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ให้ท่านผู้อ่านจินตนาการห้องเก็บสัมภาระที่อัดแน่นด้วยกระเป่าหลุยส์วิตตองขณะที่ห้องโดยสารก็เต็มไปด้วยนักธุรกิจกำลังกำหนดวาระการประชุมและทบทวนแผนการนัดหมายต่างๆ อย่างไรก็ดีความเปลี่ยนแปลงปรากฎให้เห็นได้ชัดในไม่กี่ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลเปิดตัวขึ้นโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวพลักดัน ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อบุ๊คที่นั่งเฮลิคอปเตอร์ได้ภายใน 20 นาทีและในราคาเพียงเสี้ยวเดียวเมื่อเทียบกับการเช่าเหมาลำ โดยใช้บริการจากอูเบอร์เพียงแต่กำหนดที่รับและส่งที่เฮลิคอปเตอร์สามารถลงจอดได้ ธุรกิจออนดีมานด์ที่อาศัยหลักเศรษฐกิจแบ่งปันมีบทบาทมากในการแบ่งเบาสถานะการณ์ความคับคั่งในการเดิน Victor นับว่าเป็นบริษัทแรกที่รวบรวมข้อมูลเครื่องบินเจ็ทและสนามบินกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก จากนั้นเปรียบเทียบเพื่อสร้างและนำเสนอราคาแก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้บริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว และ Victor เติบโตถึง 139 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเมื่อปีที่แล้ว เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความยืดหยุ่น ประสิทธิพลการบริหารต้นทุน ประสิทธิภาพทางเวลาในการเดินทาง ได้กลายเป็นวลีที่แห่งศตวรรษที่ 21 ยิ่งไปกว่านั้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมี app จำนวนหนึ่งนำเสนอบริการคล้ายกับ Victor ตัวอย่างเช่น JetSuite หรือไม่ว่าจะเป็น Surf Air หรือ SkyJet และมีบางเจ้าถึงขนาดนำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบสมาชิกตอบกลับ สาเหตุที่ความต้องการบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนบุคคลมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแถวรอคอยเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยที่มีความล่าช้า ความเหลื่อมล้ำด้อยประสิทธิภาพในแง่ของการบริหารจัดการของสนามบิน และความล่าช้าของตารางการบินที่เกิดขึ้นได้เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นฝันร้ายของผู้โดยสาร การจัดซื้อเครื่องบินเจ็ทเพื่อภาพลักษณ์และความภูมิฐานเป็นการแสดงสถานภาพทางสังคมของบรรดาอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งมี บริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแม้ว่าจะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล จากข้อมูลของ Corporate Jet Investor และ Forbes เมื่อพูดถึงสัดส่วนของบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวแล้ว พบว่า 63

Continue reading »

ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท

industry_logo-970x350

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท

Continue reading »

BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”

thailand-aviation

วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้

Continue reading »

Medical Tourism – Manufacturing Trends

Medical instrument, manufacturing

According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Continue reading »