เผยโฉมครั้งแรก “ปิกอัพ เบนซ์” X-Class Concept

559000011069103

ผลผลิตที่เด่นชัดของความร่วมมือระหว่าง “เดมเลอร์ เอจี” และเรโนลต์-นิสสัน โดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัว X-Class Concept ต้นแบบปิกอัพพันธุ์หรูที่พัฒนามาจาก “นิสสัน นาวารา” เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์พันธุ์ลุย ซึ่งในการเปิดตัวเมื่อคืนที่ผ่านมาระบุระยะเวลาและภูมิภาคในการทำตลาดชัดเจน แต่ยังไม่มีชื่อของไทยและประเทศในเอเชีย X-Class เป็นปิกอัพหรู ตัวถัง 4 ประตู ที่ชูจุดเด่นเรื่องความ อึด แกร่ง พร้อมความสามารถในการบรรทุกระดับ 1.1 ตัน และลากจูงได้ 3.5 ตัน รวมถึงสมรรถนะในการลุยแบบออฟโรด (ตัวคอนเซปต์คันสีเทาเงินมากับล้ออัลลอย 22 นิ้ว) งานนี้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญๆ (เพราะยังเป็นตัวต้นแบบ) แต่แย้มว่าตัวท็อปจะมากับเครื่องยนต์ดีเซล วี6 พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ 4MATIC กำหนดวางขายในยุโรปช่วงปลายปีหน้า ในราคาที่น่าสนใจมากๆ โดยการผลิตจะมีขึ้นที่โรงงานนิสสัน เมืองบาเซโลน่า ประเทศ สเปน พร้อมส่งออกไปออสเตรเลียและแอฟริกาใต้ส่วนตลาดอเมริกาใต้จะเริ่มผลิตต้นปี 2018 ที่โรงงานเรโนลต์ เมืองคอร์โดบา ประเทศอาร์เจนตินา   Source : http://manager.co.th/

Continue reading »

สถาบันไทย-เยอรมันเร่งส่งเสริมการลงทุน-ปั้นบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม รับ New S-Curve

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d

สถาบันไทย-เยอรมัน ขานรับนโยบายรัฐเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ร่วมผลักดันส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกางแผนพัฒนาเทคโนโลยีและหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อเติมองค์ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 หวังปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีด ความสามารถผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์แก่อุตสาหกรรม New S-Curve ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า ด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย กับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้สถาบันไทย-เยอร มัน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์  เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีแม่พิมพ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและช่วยทรานฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยเฉพาะกลุ่มหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Robotic) และระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วนทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอากาศยาน เป็นต้น นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ  ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวว่า

Continue reading »

New Head of Ericsson Thailand

mrs-nadine1

นาดีน อัลเลน, ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด นาดีน อัลเลน มีประสบการณ์ในบทบาทที่หลากหลายในอุตสาหกรรมไอซีที หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก มากว่า 20 ปี รวมถึงได้รับตำแหน่งผู้บริหารที่อีริคสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เธอเข้ารับตำแหน่งประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของบริหารธุรกิจโดยรวมของอีริคสัน ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เธอเป็นรองประธานฝ่ายลูกค้าอุตสาหกรรมและสังคม อีริคสัน ยุโรปกลางและตะว้นตก รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินธุรกิจของอีริคสันอุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน และระบบการขนส่งอัจฉริยะ ความปลอดภัยสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางเรือ ใน 16 ประเทศของยุโรปตอนกลางและตะวันตก นอกจากนี้เธอยังมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาการบริหารการให้บริการและกลุ่มธุรกิจภายนอกของอีริคสัน เป็นเวลา 2 ปี ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับอีริคสัน นาดีนเคยเป็นรองประธานและผู้จัดการลูกค้าของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ EE (บริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร) และ MBNL (บริษัทร่วมกันระหว่าง EE และ3UK) มากว่า 6

Continue reading »

The Father of Thai skill Standard

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87-01

บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการพัฒนา บุคลากรด้านฝีมือแรงงานกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง โดยเฉพาะกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มีโอกาสได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานด้านช่างในพระราชอิริยาบถต่างๆประดิษฐานอยู่ตามผนังทั่วไป เกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นาย จิระพันธ์ อุลปาทร ประธานกรรมการบริษัทฯ สร้างสรรค์งานอันทรงคุณค่านี้ขึ้น โดยเลือกพระบรมฉายาลักษณ์รวม 12 องค์ เขียนเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์โดยรังสรรค์งานเป็นภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบเทคนิค ซีเปีย (Sepia) ปรับปรุงองค์ประกอบขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสวยงาม พร้อมทำตัวอักษรประดิษฐ์ติดด้วยแผ่นทองแดงเปลว ตามแบบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแสดงถึงการได้รับพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยให้คุณ กิตติ พลศักดิ์ขวา ศิลปินฝีมือเยี่ยมในการเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติและเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้มีโอกาสชื่นชมในพระราชจริยวัตรอีกด้านหนึ่งของพระองค์ซึ่งยากที่จะหาดูได้จากแหล่งใด ทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงอุทิศพระวรกายต่อการช่างไทย ซึ่งมีคุณค่าเอนกอนันต์สมควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไป Sumipol Corporation Limited has been involved and worked with various government organizations, in particular, the Skill Development Department,

Continue reading »

Medical Tourism – Manufacturing Trends

Medical instrument, manufacturing

According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Continue reading »