ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท

industry_logo-970x350

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท

Continue reading »

ไทย-เม็กซิโก หารือขยายลงทุนด้านอากาศยานและยานยนต์

pnoht591102001011601

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 นายไฆเม บีร์กิลิโอ นัวลาร์ต ซานเชซ (H.E. Mr. Jaime Virgilio Nualart Sánchez) เอกอัครราชทูตสหรัฐเม็กซิโกประจำประเทศไทย เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ภายหลังการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าเอกอัครราชทูตเม็กซิโกได้แสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกล่าวว่า ท่านทรงเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการพัฒนา ไม่เพียงแต่สำหรับประเทศไทย แต่รวมถึงโลกด้วย ซึ่งคนเม็กซิโกเองมีความชื่นชมต่อสิ่งที่ท่านได้สร้างไว้และการอุทิศตนต่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทั้งนี้ เม็กซิโกมีความสนใจในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งไทยยินดีแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับเม็กซิโก เพื่อสานต่อพระปณิธานและส่งเสริมความผาสุกของประชาชนทั้งสองประเทศต่อไป สำหรับด้านการค้าการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าของทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันยังสามารถขยายตัวได้อีก โดยเสนอให้ทั้งสองประเทศแสวงหาโอกาสทางการค้า โดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทย-เม็กซิโกมีศักยภาพ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน อุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้เม็กซิโกใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียนในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการบริการ ซึ่งตรงกับความต้องการของเม็กซิโกที่ต้องการให้ไทยใช้เม็กซิโกเป็นประตูสู่ลาตินอเมริกา โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้สองประเทศร่วมมือกันในลักษณะประเทศไทยบวกหนึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเม็กซิโกบวกหนึ่งประเทศภูมิภาคลาตินอเมริกาในสาขาที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อขยายตลาดระหว่างกันให้กว้างขึ้น สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สองฝ่ายยินดีที่มีการนำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานจากไทยเยือนเม็กซิโก

Continue reading »

BOI eases up on aviation cluster rule – BOI เห็นชอบปรับปรุงมาตรการส่งเสริม”คลัสเตอร์อากาศยาน”

thailand-aviation

วันที่ 31 ต.ค.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 4/2559 โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมคลัสเตอร์อากาศยาน โดยยกเลิกเงื่อนไขการตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เนื่องจากอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่มีการกระจุกตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการไทยหลายรายที่มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัดดังกล่าว ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น สายสัญญาณ น็อต เฟือง ใบพัด เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งใกล้สนามบิน เพราะสามารถขนส่งชิ้นส่วนได้โดยง่ายอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มีสนามบิน ที่ประชุมจึงมีมติยกเลิกเงื่อนไขเรื่องที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งตามนโยบายเดิมกำหนดให้ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบิน นอกจากนี้

Continue reading »

เผยโฉมครั้งแรก “ปิกอัพ เบนซ์” X-Class Concept

559000011069103

ผลผลิตที่เด่นชัดของความร่วมมือระหว่าง “เดมเลอร์ เอจี” และเรโนลต์-นิสสัน โดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัว X-Class Concept ต้นแบบปิกอัพพันธุ์หรูที่พัฒนามาจาก “นิสสัน นาวารา” เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์พันธุ์ลุย ซึ่งในการเปิดตัวเมื่อคืนที่ผ่านมาระบุระยะเวลาและภูมิภาคในการทำตลาดชัดเจน แต่ยังไม่มีชื่อของไทยและประเทศในเอเชีย X-Class เป็นปิกอัพหรู ตัวถัง 4 ประตู ที่ชูจุดเด่นเรื่องความ อึด แกร่ง พร้อมความสามารถในการบรรทุกระดับ 1.1 ตัน และลากจูงได้ 3.5 ตัน รวมถึงสมรรถนะในการลุยแบบออฟโรด (ตัวคอนเซปต์คันสีเทาเงินมากับล้ออัลลอย 22 นิ้ว) งานนี้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญๆ (เพราะยังเป็นตัวต้นแบบ) แต่แย้มว่าตัวท็อปจะมากับเครื่องยนต์ดีเซล วี6 พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ 4MATIC กำหนดวางขายในยุโรปช่วงปลายปีหน้า ในราคาที่น่าสนใจมากๆ โดยการผลิตจะมีขึ้นที่โรงงานนิสสัน เมืองบาเซโลน่า ประเทศ สเปน พร้อมส่งออกไปออสเตรเลียและแอฟริกาใต้ส่วนตลาดอเมริกาใต้จะเริ่มผลิตต้นปี 2018 ที่โรงงานเรโนลต์ เมืองคอร์โดบา ประเทศอาร์เจนตินา   Source : http://manager.co.th/

Continue reading »

สถาบันไทย-เยอรมันเร่งส่งเสริมการลงทุน-ปั้นบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม รับ New S-Curve

%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d

สถาบันไทย-เยอรมัน ขานรับนโยบายรัฐเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ร่วมผลักดันส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกางแผนพัฒนาเทคโนโลยีและหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อเติมองค์ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 หวังปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีด ความสามารถผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์แก่อุตสาหกรรม New S-Curve ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า ด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย กับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้สถาบันไทย-เยอร มัน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์  เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีแม่พิมพ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและช่วยทรานฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถการแข่งขันที่ดีขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยเฉพาะกลุ่มหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Robotic) และระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วนทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอากาศยาน เป็นต้น นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ  ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวว่า

Continue reading »

New Head of Ericsson Thailand

mrs-nadine1

นาดีน อัลเลน, ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด นาดีน อัลเลน มีประสบการณ์ในบทบาทที่หลากหลายในอุตสาหกรรมไอซีที หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลก มากว่า 20 ปี รวมถึงได้รับตำแหน่งผู้บริหารที่อีริคสัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เธอเข้ารับตำแหน่งประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของบริหารธุรกิจโดยรวมของอีริคสัน ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เธอเป็นรองประธานฝ่ายลูกค้าอุตสาหกรรมและสังคม อีริคสัน ยุโรปกลางและตะว้นตก รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินธุรกิจของอีริคสันอุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน และระบบการขนส่งอัจฉริยะ ความปลอดภัยสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางเรือ ใน 16 ประเทศของยุโรปตอนกลางและตะวันตก นอกจากนี้เธอยังมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาการบริหารการให้บริการและกลุ่มธุรกิจภายนอกของอีริคสัน เป็นเวลา 2 ปี ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับอีริคสัน นาดีนเคยเป็นรองประธานและผู้จัดการลูกค้าของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ EE (บริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร) และ MBNL (บริษัทร่วมกันระหว่าง EE และ3UK) มากว่า 6

Continue reading »

The Father of Thai skill Standard

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87-01

บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการพัฒนา บุคลากรด้านฝีมือแรงงานกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง โดยเฉพาะกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มีโอกาสได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานด้านช่างในพระราชอิริยาบถต่างๆประดิษฐานอยู่ตามผนังทั่วไป เกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นาย จิระพันธ์ อุลปาทร ประธานกรรมการบริษัทฯ สร้างสรรค์งานอันทรงคุณค่านี้ขึ้น โดยเลือกพระบรมฉายาลักษณ์รวม 12 องค์ เขียนเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์โดยรังสรรค์งานเป็นภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบเทคนิค ซีเปีย (Sepia) ปรับปรุงองค์ประกอบขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสวยงาม พร้อมทำตัวอักษรประดิษฐ์ติดด้วยแผ่นทองแดงเปลว ตามแบบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแสดงถึงการได้รับพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยให้คุณ กิตติ พลศักดิ์ขวา ศิลปินฝีมือเยี่ยมในการเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติและเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้มีโอกาสชื่นชมในพระราชจริยวัตรอีกด้านหนึ่งของพระองค์ซึ่งยากที่จะหาดูได้จากแหล่งใด ทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงอุทิศพระวรกายต่อการช่างไทย ซึ่งมีคุณค่าเอนกอนันต์สมควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไป Sumipol Corporation Limited has been involved and worked with various government organizations, in particular, the Skill Development Department,

Continue reading »

Medical Tourism – Manufacturing Trends

Medical instrument, manufacturing

According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Continue reading »

Launch of Newly Expanded Sumitomo Technical Center

Ti-Tec

บริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก ฮาร์ดเมทัล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดตั้งศูนย์บริการเทคนิค (Technical Center) ขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ให้บริการอบรมด้านเทคนิคแก่ลูกค้าโดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรสำคัญๆ เกี่ยวกับงานตัดแต่งขึ้นรูปโลหะหลายหัวข้อ จวบจนปัจจุบันได้ให้การฝึกอบรมแก่ลูกค้าและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 4,500 คน นับเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมไทย จากการดำเนินงานติดต่อกันมานับ 10 ปี พบว่าปัจจุบันความต้องการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต SHT จึงได้ปรับศูนย์บริการเทคนิคครั้งใหญ่ ครอบคลุมงานที่สำคัญ เช่น การกลึง การเจาะ และการกัด รวมถึงการให้บริการด้านการทดสอบการตัดชิ้นงานให้แก่ลูกค้า (Test Cut) ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ได้มีปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้รูปแบบหลักสูตรจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์มายาวนาน บัดนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นพร้อมที่จะเปิดบริการได้แล้วภายใต้ชื่อใหม่ว่า Thailand Tools Engineering Center หรือ Ti-TEC Sumitomo Electric Hardmetal Manufacturing (Thailand) Ltd. (SHT) set

Continue reading »

Haitian shows its highest efficiency in plastic manufacturing in InterPlas Thailand 2016

IMG_2330

ไห่เถียนชูศักยภาพการผลิตพลาสติกที่ดีที่สุดภายในงาน อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2016 บริษัท ไห่เทียน แมชชีนเนอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำทางด้านการผลิตเครื่องฉีดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมกับบริษัท เอสพี อินเตอร์แมค จำกัด ร่วมแสดงศักยภาพนวัตกรรมการผลิตพลาสติกที่สามารถตอบโจทย์การผลิตให้กับผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ กลางและธุรกิจขนาดย่อมภายในงาน อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2016 ที่จัดเมื่อวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2559 ทั้งนี้ คุณชัชชวี วัฒนสุข ประธานกรรมการ บริษัท เอสพี อินเตอร์แมค จำกัด ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันเราพบว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น มีความพร้อมและความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน โดยเฉพาะในรุ่น Mar Series ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ผลิตในประเทศไทยโดยเฉพาะ คุณภาพสูงและคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างมาก” ภายในงานได้รับการสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วมงาน วิศวกร และผู้ประกอบการในการร่วมเข้าชมงานในปีนี้ Haitian Machinery (Thailand) Co., Ltd., the world’s leading manufacturer of plastic injection, joined

Continue reading »
Pages:«12345»