สถาบันยานยนต์ จับมือ เดลต้า พัฒนา SME ผนึกกำลังขานรับ 4.0 สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไทย

1485866734

สถาบันยานยนต์ จับมือ เดลต้า พัฒนา SME ผนึกกำลังขานรับ 4.0 สู่ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไทย คลื่นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังเคลื่อนเข้ามาจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยียานยนต์จากเครื่องยนต์ที่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานไฟฟ้า ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์สมัยใหม่ ผู้ประกอบการต้องมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและบุคลากรที่มีทักษะการผลิตสูงขึ้น สถาบันยานยนต์ ร่วมกับ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จัดงาน “อนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” สำหรับเอสเอ็มอีผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 70 ราย ในโครงการ “ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย พร้อมสานพลังประชารัฐเตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี EV และเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า ช่วงกลางปี 2560 ปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สร้างรายได้แก่ประเทศไทยปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 5 ของมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะนี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งเป็นการเข้ามาลงทุนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก แนวโน้มกระแสตลาดโลกและรัฐบาลไทยปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อตลาดชิ้นส่วนฯแตกต่างกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน 1 คัน มีชิ้นส่วนเครื่องยนต์มากกว่าชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า

Continue reading »

บีโอไอชวนนักลงทุนญี่ปุ่น 200 รายหวังดึงลงทุน “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2-%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%a2-300x222

บีโอไอร่วมกับธนาคารโชโคชูคินซึ่งเป็นธนาคารส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของญี่ปุ่น สัมมนาชักจูงการลงทุนกลุ่มบริษัทชั้นนำ 200 รายของญี่ปุ่น หวังจูงใจให้ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พร้อมนัดหารือรายบริษัทที่วางแผนขยายการลงทุนในไทย นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2559 บีโอไอจะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา “Thailand Investment Seminar” ณ กรุงโตเกียว ซึ่งจัดโดยธนาคารโชโคชูคิน (ShokoChukin) ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารโชโคชูคินและครบรอบการก่อตั้งบีโอไอ 50 ปี โดยมีนักธุรกิจที่เป็นลูกค้าของธนาคาร 200 รายเข้าร่วมงาน “บีโอไอได้ลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนกับธนาคารโชโคชูคินมาเป็นเวลา 21 ปีแล้ว และช่วงที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วประมาณ 900 ราย บีโอไอและธนาคารโชโคชูคินจึงจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อเชิญชวนลูกค้าชั้นนำของธนาคาร โชโคชูคินให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย และการลงทุนในพื้นที่อีอีซี” นางหิรัญญากล่าว ทั้งนี้ บริษัทที่เข้าร่วมงานสัมมนา 200 ราย เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร แปรรูปอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ บีโอไอจะพบปะหารือรายบริษัทกับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแผนจะขยายการลงทุนในประเทศไทย

Continue reading »

ก.อุตฯเผย ยอดเปิดโรงงาน 10 เดือนแรก 363.8 พันล้านบาท

industry_logo-970x350

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์การลงทุนเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 ว่าน่าพอใจและถือเป็นระดับปกติของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ส่งออกของประเทศที่ติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่าสถิติการขอประกอบการโรงงานใหม่และขยายโรงงานเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 พฤศจิกายน 2559 มีเอกชนแจ้งเริ่มประกอบการใหม่และขยายโรงงาน รวมทั้งสิ้น 3,559 โรงงาน วงเงินลงทุนรวม 363,770.87 ล้านบาทก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานรวม 125,373 คน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการประกอบการใหม่รวม 3,126 โรงงาน วงเงินลงทุน 258,121.58 ล้านบาท การจ้างงาน 78,081 คน และขยายโรงงาน 433 โรงงาน วงเงินลงทุน 105,649.28 ล้านบาท การจ้างงาน 47, 292 คน ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วิเคราะห์ว่า เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในปี 59 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี และผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์เป็นสำคัญ โดยมีเม็ดเงินลงทุนที่ 21.9 พันล้านบาท

Continue reading »

Medical Tourism – Manufacturing Trends

Medical instrument, manufacturing

According to the Global Longevity ตลาดบริการทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียกำลังเบ่งบาน แต่การที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลนี้ได้นั้น ผู้ให้บริการทางการแพทย์จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดึงดูดผู้เข้ารับการบริการทั้งในและนอกภูมิภาค ปัจจุบันอุปสงค์ของบริการด้านบริการทางการแพทย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะแรงขับเคลื่อนทางประชากรศาสตร์ซึ่งได้แก่ อายุขัยของมนุษย์ที่มากขึ้น และอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับทางเลือกบริการทางการแพทย์และคุณภาพของบริการดังกล่าวมากขึ้น และยอมเดินทางไกลเพื่อรับบริการทางการแพทย์ต่างแดนที่มีค่าใช้จ่ายย่อมเยากว่า Opportunity exists in Asia บริการทางการแพทย์ที่เป็นที่ต้องการสูง ณ ปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ศัลยกรรม ทันตกรรม และศัลยกรรมเสริมความงาม ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมได้แก่ ค่าใช้จ่ายแบบ low-cost แต่คงด้วยคุณภาพมาตรฐานคุณภาพการบริการระดับนานาชาติ ณ สิ้นปี 2015 ได้มีสถานบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองโดย Joint Commission International (JCI) แล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน 439 แห่งตามรายงานของ Patients Beyond Borders ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศอินเดียเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 65-90% ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในประเทศสหรัฐประมาณ 50-70% และเสียใช้จ่ายน้อยกว่า 30-45% ในประเทศซึ่งมีค่าครองชีพสูงมากอย่างเช่นสิงคโปร์ก็ตาม สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อาจเป็นเพราะว่าเอเชียสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายนับตั้งแต่การแพทย์การรักษาไปจนถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Continue reading »

Launch of Newly Expanded Sumitomo Technical Center

Ti-Tec

บริษัท ซูมิโตโม อีเล็คตริก ฮาร์ดเมทัล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดตั้งศูนย์บริการเทคนิค (Technical Center) ขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ให้บริการอบรมด้านเทคนิคแก่ลูกค้าโดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรสำคัญๆ เกี่ยวกับงานตัดแต่งขึ้นรูปโลหะหลายหัวข้อ จวบจนปัจจุบันได้ให้การฝึกอบรมแก่ลูกค้าและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 4,500 คน นับเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมไทย จากการดำเนินงานติดต่อกันมานับ 10 ปี พบว่าปัจจุบันความต้องการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต SHT จึงได้ปรับศูนย์บริการเทคนิคครั้งใหญ่ ครอบคลุมงานที่สำคัญ เช่น การกลึง การเจาะ และการกัด รวมถึงการให้บริการด้านการทดสอบการตัดชิ้นงานให้แก่ลูกค้า (Test Cut) ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ได้มีปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยใช้รูปแบบหลักสูตรจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์มายาวนาน บัดนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นพร้อมที่จะเปิดบริการได้แล้วภายใต้ชื่อใหม่ว่า Thailand Tools Engineering Center หรือ Ti-TEC Sumitomo Electric Hardmetal Manufacturing (Thailand) Ltd. (SHT) set

Continue reading »